springgreenのブログ

タイ料理のレシピ รวมสูตรอาหารไทย

เคล็ดการเก็บผักอย่างไร ให้ผักสดใหม่ รสชาติไม่เสีย

เดี๋ยวนี้! ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนในช่วงวัยไหน เพศใด ก็หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย หรือเรื่องของอาหารการกิน ที่ลดการทานของมัน ของทอด และของหวาน แล้วหันไปให้ความสนใจทานผัก หรือสรรหา เมนูผัก กันมากขึ้น แต่ก็ยังมีหลายคนที่สงสัยว่าทำไม? ใครๆ ถึงหันมาทานผักมากขึ้น ตอบสั้นๆ ได้เลยว่า ก็เพราะผักมันมีประโยชน์มากต่อร่างกาย ใครที่ยังเฉยๆ กับการทานผัก หรือไม่เคยคิดจะทานผักเลย บอกเลยว่าคุณจะต้องเปลี่ยนใจเมื่อได้รู้ถึงประโยชน์ต่างๆ ของผักที่คุณจะต้องรักอย่างแน่นอน วันนี้เราจะแนะนำเคล็ดการเก็บผัก


สิ่งที่ควรทำก่อนเก็บผักสดเข้าตู้เย็น
ก่อนที่จะไปทราบถึงวิธีเก็บผักในตู้เย็นยังไงให้อยู่ได้นานนั้น สิ่งสำคัญที่คุณควรทำก่อนเก็บผักสดเข้าตู้เย็นก็เป็นสิ่งที่คุณควรรู้ไม่แพ้กัน โดยจะมีอะไรบ้างเรามาดูกันเลยค่ะ


1. แยกเก็บผักแต่ละชนิดเสียก่อน
สิ่งแรกที่ควรทำก่อนจะเก็บผักสดเข้าตู้เย็น ก็คือการแยกผักสดแต่ละชนิดออกจากกันแล้วใส่กล่องสุญญากาศ ที่มีฝาล็อกปิดสนิท สาเหตุก็เป็นเพราะว่าในผักบางชนิดจะปล่อยก๊าซเอทิลีนออกมาทำให้ผักที่อยู่รอบข้างเน่าเสียและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้น ถ้าอยากเก็บผักสดได้นานก็ควรหลีกเลี่ยงการเก็บผักรวมกัน โดยจะขอแบ่งผักออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน คือ


กลุ่มที่ 1 : ผักที่เสียง่าย
เช่น ผักชี ผักกาดหอม ผักบุ้ง ถั่วงอก ถั่วฝักยาว เห็ด เป็นต้น โดยผักที่อยู่ในกลุ่มนี้จะสามารถเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน จึงควรรับประทานให้หมดโดยเร็วหลังจากที่ซื้อมาแล้ว


กลุ่มที่ 2 : ผักที่เก็บได้ในเวลาจำกัด
เช่น ผักกาด ผักคะน้า มะเขือเทศ เป็นต้น โดยผักกลุ่มนี้จะไม่เสียง่ายเท่าผักในกลุ่มที่ 1 แต่ก็ควรที่จะรับประทานหรือว่านำไปประกอบอาหารภายในเวลาที่กำหนด


กลุ่มที่ 3 : ผักที่เก็บไว้ได้นานกว่าผักชนิดอื่น ๆ
เช่น มัน ฟัก ฟักทอง เผือก แฟง เป็นต้น แต่ถึงแม้ว่าผักกลุ่มที่ 3 นี้จะเก็บได้นานแต่ก็เสียได้เช่นกัน ถึงแม้จะเก็บในตู้เย็น


2. ไม่ควรล้างผักก่อนเก็บ แต่ควรล้างก่อนทำอาหาร
การเก็บผักนั้นไม่ควรที่จะล้างก่อนเก็บ ถ้าหากว่ายังไม่ได้นำผักเหล่านี้มาปรุงอาหาร เช่น ถั่วลันเตา ถั่วแขก โดยผักประเภทนี้ควรแยกเก็บใส่ถุงแล้วเก็บไว้ในอุณหภูมิประมาณ 7 องศาเซลเซียส ทำให้ช่วยคงความสดได้นานขึ้น


นอกจากนี้ ยังมีผักหัว เช่น แครอท เผือก บรีทรูท ให้ทำการตัดใบออกให้หมดเพื่อช่วยให้คงรสชาติความหวานในหัวผัก และยังมีผักเปลือกหนา เช่น ฟัก ฟักทอง แฟง เผือก มันฝรั่ง ก็สามารถเก็บได้โดยไม่ต้องล้างน้ำเช่นกัน แต่ให้เก็บไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทได้ และมีอุณหภูมิที่ 13 ถึง 18 องศาเซลเซียส จะช่วยถนอมผักให้สามารถรับประทานได้ยาวนานขึ้น


3. ถ้ามีการล้างผักต้องทำให้แห้งก่อนนำไปเก็บ
หากต้องการเก็บผักประเภท ผักชี ต้นหอม เราไม่ควรที่จะแช่ผักเหล่านี้ลงไปในน้ำแบบทั้งต้น เนื่องจากจะส่งผลให้ผักเกิดการอมน้ำ เมื่อเก็บไว้นาน ๆ จะทำให้ผักช้ำและเน่าได้ และนอกจากนี้ยังทำให้วิตามินที่อยู่ในผักละลายไปกับน้ำอีกด้วย


ดังนั้นวิธีเก็บผักที่ถูกต้อง คือ นำผักไปล้างให้สะอาดแล้วผึ่งให้แห้ง หรือนำผักไปสลัดน้ำออกให้หมาดที่สุดด้วยที่สลัดน้ำออกจากผัก ถ้าหากว่ามีใบไหนที่เน่าเสียให้เด็ด หรือตัดออกก่อนด้วยค่ะ


นอกจากนี้ หากคุณต้องการล้างผักก่อนเก็บเข้าตู้เย็น อีกสิ่งหนึ่งที่คุณควรให้ความสำคัญก็คือ การล้างผักให้ถูกต้องเพื่อลดสารเคมี และคงคุณค่าทางสารอาหารเอาไว้ โดยมีด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้


วิธีที่ 1 : ล้างแบบปล่อยน้ำไหลผ่าน
สามารถทำได้ง่ายสุดๆ นั่นก็คือการปล่อยให้น้ำไหลผ่านผัก โดยให้เด็ดผักเป็นใบ ๆ แล้วใส่ตะแกรง หลังจากนั้นคลี่ผักแล้วล้างให้สะอาดเป็นเวลา 2 นาที ซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดสารเคมีได้ร้อยละ 25-63 ขึ้นอยู่กับชนิดของผักแต่ละชนิด


วิธีที่ 2 : ล้างด้วยน้ำส้มสายชู หรือเบคกิ้งโซดา
สำหรับสูตรน้ำส้มสายชู แนะนำให้ใช้น้ำส้มสายชูที่มีกรดความเข้มข้นร้อยละ 5 ในปริมาณ 1 ถ้วยตวง ผสมกับน้ำเปล่า 10 ถ้วยตวง ในอัตราส่วน 1:10 นั่นเอง หลังจากนั้นก็นำผักไปแช่ในน้ำประมาณ 10-15 นาที แล้วล้างน้ำสะอาดอีกทีหนึ่ง โดยวิธีนี้ช่วยลดสารเคมีในผักได้ร้อยละ 60-84 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก


อีกวิธีหนึ่งคือใช้โซเดียมไบคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอุ่นประมาณ 20 ลิตร แช่ผักนาน 15 นาที แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดหลาย ๆ รอบ วิธีนี้จะสามารถช่วยลดสารตกค้างได้ร้อยละ 90-95 ขึ้นอยู่กับชนิดของผัก


วิธีเก็บผักในตู้เย็นตามแต่ละชนิด
หลังจากที่ได้ทราบกันแล้วว่าสิ่งที่ควรจะทำก่อนเก็บผักเข้าตู้เย็นนั้นมีอะไร ต่อมาเราขอแนะนำวิธีเก็บผักในตู้เย็นตามแต่ละชนิดให้สดใหม่ เพราะถึงแม้ว่าการนำผักเข้าตู้เย็นจะเป็นวิธีการถนอมอาหารที่ดีที่สุด แต่ว่าผักบางชนิดเองก็มีเทคนิคลับเฉพาะตัวที่ทำให้เก็บไว้ในตู้เย็นได้นานขึ้น


โดยเราจะมาแชร์เทคนิคการเก็บผักยอดฮิตติดตู้เย็นคนไทยอย่าง ผักชี ใบกะเพรา กระเทียม และพริกสดให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ


วิธีการเก็บผักชี
เชื่อว่าผักชี คงเป็นหนึ่งในผักยอดฮิตที่อยู่ในเมนูของพ่อครัวแม่ครัวหลาย ๆ คน ซึ่งถ้าหากเราเก็บไม่ดีหรือเก็บไม่ถูกวิธี ผักชีที่เก็บไว้ก็อาจจะเสียได้ ดังนั้น เราเลยขอนำวิธีเก็บผักชีในตู้เย็นที่สามารถทำได้ง่าย และช่วยถนอมผักชีให้เก็บได้นานขึ้นคงรสชาติหรือกลิ่นให้ยังคงอยู่มาฝากทุกคนกันค่ะ


1. เลือกผักชีที่มีรากติด
สำหรับวิธีเก็บผักชีในตู้เย็น เริ่มต้นให้เราทำการเลือกผักชีที่มีรากติดอยู่ด้วย ซึ่งถ้าบริเวณใบของผักชีที่มีลักษณะจะเน่าหรือเหี่ยวให้เราทำการตัดออก โดยที่ไม่ต้องนำผักชีไปล้างน้ำเนื่องจากว่าถ้าหากนำไปล้างแล้วจะส่งผลทำให้ผักเสียได้ง่ายนั่นเอง


2. ใส่ลงในกล่องสุญญากาศที่มีทิชชู่วางรอง
ต่อมาให้เรานำกระดาษทิชชู่ไปวางรองในกล่องสุญญากาศที่เตรียมไว้ แล้วเก็บผักชีลงไปในกล่อง และสาเหตุที่ต้องใส่ทิชชู่วางรองเอาไว้ก็เป็นเพราะว่าทิชชู่จะช่วยดูดซับความชื้นไม่ให้ระเหยออกไปด้านนอก และให้นำทิชชู่มาห่อผักชีเอาไว้อีกรอบหนึ่ง เพื่อช่วยให้ผักไม่ต้องสัมผัสกับความเย็นภายในตู้เย็นโดยตรง


3. ปิดฝาให้สนิทแล้วนำเข้าตู้เย็น
หลังจากที่ห่อผักชีและเก็บผักชีลงในกล่องที่วางทิชชู่รองเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ต่อมาก็ทำการปิดฝากล่องให้สนิทเพื่อช่วยป้องกันอากาศเข้าออกแล้วนำเข้าไปเก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา โดยวิธีเก็บผักชีในตู้เย็นแบบนี้จะช่วยให้เราเก็บผักสดได้นานขึ้นและคงคุณภาพดี อยู่ได้นานถึง 3 สัปดาห์เลยค่ะ


วิธีเก็บใบกะเพรา
ต่อมาเป็นวิธีเก็บใบกะเพราในตู้เย็น ซึ่งเชื่อว่าคนชอบทำเมนูผัดกะเพราเป็นกิจวัตรประจำวัน ต้องกำลังหาวิธีเก็บใบกะเพราให้อยู่ได้นานและคงกลิ่นหอมอยู่แน่ ๆ เนื่องจากถ้าเราเก็บใบกะเพราในตู้เย็นธรรมดาโดยเก็บไม่ถูกวิธี ผ่านไปเพียงแค่ 2-3 วันก็อาจทำให้ใบกะเพราเหี่ยวลง หรือเน่าเสียดูไม่น่ารับประทาน ดังนั้น เราเลยขอนำวิธีเก็บใบกะเพราในตู้เย็นยังไงให้อยู่ได้นาน และคงกลิ่นหอมมาฝากทุกคนกันค่ะ


1. เด็ดใบกะเพรา ล้างน้ำให้สะอาด
เริ่มต้นวิธีเก็บใบกะเพราในตู้เย็นขั้นตอนแรก ให้เราเลือกเด็ดใบกะเพราที่ยังคงสวยอยู่ไปล้างน้ำให้สะอาดด้วยที่ล้างผัก แล้วหลังจากนั้นก็นำใบกะเพราที่ล้างแล้วไปสะเด็ดน้ำให้หมาด


2. นำใบกะเพราลวกในน้ำเดือด แล้วน็อคน้ำเย็น
นำใบกะเพราที่ล้างแล้วลงไปลวกในน้ำเดือดจัดแล้วปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วินาที หลังจากนั้น เตรียมภาชนะที่ไร้สารก่อมะเร็ง ทนอุณหภูมิตั้งแต่ -20 ถึง 120 องศาเซลเซียส สำหรับใส่น้ำเย็นและน้ำแข็ง และทำการตักใบกะเพราน็อคในน้ำเย็นเพื่อเป็นการล็อคความสดใหม่ หรือทำให้ใบกะเพรามีสีเขียวสดดูน่ารับประทาน


3. บีบน้ำออก แล้วปั้นให้เป็นก้อนกลม
หลังจากที่นำใบกะเพราไปน็อคน้ำเย็นจนถึงเวลาที่กำหนดแล้ว ต่อมาให้เราหยิบใบกะเพราขึ้นมา 1 กำมือ หลังจากนั้นบีบน้ำออก แล้วทำการปั้นเป็นก้อนกลม ๆ


4. เก็บใบกะเพราในกล่องสุญญากาศ แล้วแช่ช่องฟรีซ
ต่อมาให้เก็บใบกะเพราที่ถูกปั้นเป็นก้อนกลมแล้ว ลงในกล่องสุญญากาศมีฝาปิดล็อกแนบสนิท ป้องกันอากาศเข้าออกได้ แล้วนำเข้าช่องฟรีซ ซึ่งวิธีเก็บใบกะเพราในตู้เย็นแบบนี้จะช่วยถนอมใบกะเพราให้อยู่ได้นานขึ้น และคงความสดใหม่พร้อมใช้ปรุงอาหารในครั้งต่อไปได้โดยไม่เน่าเสียเร็วนั่นเองค่ะ


วิธีเก็บกระเทียม
สำหรับกระเทียมถือเป็นพืชสมุนไพรที่เชื่อว่าใคร ๆ ก็ต้องรู้จัก และมักจะได้รับความนิยมในการใช้ประกอบอาหารในหลากหลายเมนูของคนไทย โดยมีวิธีเก็บกระเทียมในตู้เย็นให้อยู่ได้นาน ซึ่งสามารถเก็บได้ทั้งแบบกระเทียมที่ปอกแล้ว กระเทียมสับ หรือการเก็บกระเทียมกลีบก็สามารถทำได้ โดยมีวิธีดังนี้


วิธีเก็บกระเทียมที่ปอกแล้ว
เริ่มต้นด้วยวิธีเก็บกระเทียมปอกแล้ว โดยการนำกระเทียมที่ปอกเปลือกไปล้างน้ำสะอาด ตัดหัวและท้ายกระเทียมออกหลังจากนั้นนำไปซับน้ำให้แห้ง แล้วนำทิชชู่วางรองในกล่องถนอมอาหารแล้วใส่กระเทียมลงไป หลังจากนั้น เอาทิชชู่ปิดทับไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยดูดซับให้ความชื้นลดลงแล้วปิดฝากล่องให้สนิท ก่อนจะเก็บกระเทียมแช่ตู้เย็นในช่องธรรมดาหรือช่องสำหรับเก็บผัก ซึ่งวิธีเก็บกระเทียมในตู้เย็นแบบนี้จะช่วยถนอมกระเทียมให้เก็บได้นานโดยไม่เน่าเสีย และยังคงหอมเหมือนใหม่นั่นเองค่ะ


วิธีเก็บกระเทียมสับแล้ว
ต่อมาเป็นวิธีเก็บกระเทียมสับแล้ว โดยหลังจากที่ทำการปอกเปลือกกระเทียมเสร็จก็ให้นำกระเทียมไปสับ หรือจะปั่นก็ได้ซึ่งจะต้องใส่น้ำลงไปด้วยเล็กน้อย หลังจากนั้น นำไปใส่แม่พิมพ์ทำน้ำแข็ง แล้วปล่อยให้กระเทียมแช่แข็งจนกว่าจะเริ่มจับตัวเป็นก้อน จึงค่อยนำก้อนกระเทียมออกมาแบ่งใส่ในกล่องหรือขวดโหลที่มีฝาปิดสนิทเพื่อป้องกันกลิ่นไม่พึงประสงค์จากกระเทียมที่อาจทำให้ตู้เย็นมีกลิ่นได้ จากนั้นเก็บกระเทียมในตู้เย็นบนช่องฟรีซต่อไปจนกว่าจะนำออกมาใช้ใหม่ ซึ่งวิธีนี้จะช่วยเก็บกระเทียมไม่ให้ขึ้นรา และยังช่วยเก็บกระเทียมให้ได้นานมากกว่า 1 เดือนอีกด้วยค่ะ


วิธีเก็บกระเทียมกลีบ
และสุดท้ายจะเป็นวิธีเก็บกระเทียมกลีบ ที่สามารถทำได้ง่ายมาก ๆ คล้ายกับวิธีเก็บกระเทียมที่ปอกแล้ว แต่เราไม่ต้องนำกระเทียมไปล้างน้ำเลย เพียงแค่นำทิชชู่ไปรองไว้ในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท แล้วใส่กระเทียมกลีบลงไป หลังจากนั้น วางทิชชู่ทับลงไปอีกชั้นหนึ่งแล้วทำการปิดฝาล็อกให้สนิท เพื่อป้องกันอากาศเข้าออกและความชื้นที่จะไปสัมผัสกับกระเทียม โดยวิธีเก็บกระเทียมในตู้เย็นทั้งหมดที่เรากล่าวมานี้ จะช่วยทำให้คุณพ่อบ้านและแม่บ้านหลาย ๆ ท่าน สามารถยืดอายุและเก็บกระเทียมให้ได้นาน หมดปัญหากระเทียมเป็นราไปเลยค่ะ


วิธีเก็บพริกสด
สำหรับพริกสดที่ช่วยเพิ่มรสชาติความเผ็ดร้อนในอาหารหลากหลายเมนู ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนไทยชอบรับประทาน รวมถึง ยังสามารถนำมาใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายเมนู ไม่แพ้ผักสดชนิดอื่น ๆ ดังนั้น เราขอนำวิธีเก็บพริกในตู้เย็นมาฝากทุกคนกันค่ะ จะมีการเก็บรักษาพริกสดอย่างไรบ้างนั้นมาดูกันเลย


1. ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเด็ดขั้วพริกออก
สำหรับขั้นตอนแรกของวิธีเก็บพริกในตู้เย็น ให้เราเลือกคัดพริกสดใหม่ที่ไม่เน่าเสียแล้วนำไปล้างน้ำสะอาด หลังจากนั้น ก็นำพริกสดที่ล้างแล้วไปสะเด็ดน้ำออกแล้วผึ่งลมให้แห้ง และทำการเด็ดขั้วพริกออก


2. เก็บพริกสดลงในกล่องสุญญากาศที่มีทิชชู่วางรอง
นำกระดาษทิชชู่ไปวางรองในกล่องสุญญากาศ แล้วเก็บพริกสดลงไปในกล่อง ต่อมาให้นำกระดาษทิชชู่มาห่อพริกเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยดูดซับความชื้นของพริกให้แห้ง


3. ปิดฝากล่องให้สนิทแล้วนำเข้าตู้เย็น
เมื่อทำการเก็บพริกสดลงกล่องที่วางกระดาษทิชชู่รองเอาไว้ หลังจากนั้น ก็ปิดฝากล่องให้สนิท เพื่อช่วยป้องกันอากาศเข้าออกและความชื้นที่จะไปสัมผัสกับพริก แล้วก็เลือกเก็บพริกสดในตู้เย็นช่องธรรมดา โดยการเก็บพริกสดแบบนี้จะช่วยให้เราเก็บพริกสดอยู่ได้นานขึ้นถึง 1 เดือนเลยค่ะ


ภาชนะที่ควรเลือกใช้เก็บผักสดในตู้เย็น
หลังจากที่ได้ทราบถึงวิธีเก็บผักสดในตู้เย็นยังไงให้สดใหม่อยู่ได้นาน คงรสชาติและกลิ่นหอมพร้อมนำมาปรุงอาหารอยู่เสมอไม่ต้องออกไปซื้อบ่อย ๆ แล้ว ต่อมาเราจะขอแนะนำภาชนะที่ควรเลือกใช้เก็บผักสดในตู้เย็นกันด้วยค่ะ


กล่องเก็บผักในตู้เย็น
สำหรับกล่องเก็บผักในตู้เย็น ควรเลือกเป็นกล่องหรือภาชนะที่มีฝาปิดล็อกแนบสนิท เพื่อช่วยป้องกันอากาศและความชื้นเข้าออกอันเป็นสาเหตุหลักที่จะทำให้ผักสดนั้นเสียได้เร็ว ดังนั้น กล่องถนอมอาหารจาก Super Lock ที่มีเทคโนโลยีพิเศษล็อก 2 ชั้น มีฝาปิดล็อคแนบสนิททั้ง 4 ด้าน จึงช่วยล็อกความสดใหม่และเก็บผักสดให้อยู่ได้นานขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีไมโครแบนที่ช่วยยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรีย ไร้สารก่อมะเร็ง โดยมีทั้งกล่องถนอมอาหารพลาสติก ที่ทนอุณหภูมิตั้งแต่ -20 ถึง 120 องศาเซลเซียส และกล่องแก้วถนอมอาหาร ทนอุณหภูมิตั้งแต่ -20 ถึง 400 องศาเซลเซียส สามารถนำเข้าตู้เย็น ช่องฟรีซได้อย่างปลอดภัย จึงเหมาะสมที่จะเลือกใช้เป็นกล่องเก็บผักในตู้เย็นที่บ้านคุณนั่นเองค่ะ


ขวดโหลสำหรับเก็บผักสดในตู้เย็น
นอกจากจะเก็บผักสดด้วยกล่องเก็บผักในตู้เย็นแล้ว ยังมีขวดโหลที่เก็บผักในตู้เย็นได้เช่นเดียวกัน โดยควรเลือกใช้ที่เก็บผักประเภทขวดโหลผลิตจากพลาสติกที่มีคุณภาพ ปลอดภัยไร้สารก่อมะเร็ง มีฝาปิดช่วยป้องกันฝุ่นหรือแมลงต่าง ๆ ได้ และสะดวกต่อการเก็บผัดสดในตู้เย็นเนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด ทำให้ภายในตู้เย็นเป็นระเบียบ ประหยัดพื้นที่นั่นเอง


การเก็บผักด้วย ตู้แช่ผัก

ตู้แช่เย็น เป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่แทบทุกบ้าน หรือ ร้านค้า ธุรกิจ ใช้เก็บสินค้า ต้องมีไว้ใช้ ประโยชน์ที่ สำคัญของ ตู้แช่ผัก ก็คือไว้ใช้เก็บอาหารให้ได้นานขึ้น ทั้งอาหารสดประเภทเนื้อสัตว์ และผักสดต่างๆ และอาหารสำเร็จรูปที่อาจยังกินไม่หมด ก็สามารถเก็บไว้ในตู้แช่ผัก เพื่อยืดระยะเวลาการบูดเน่าได้ แถมยังควบคุมอุณหภูมิได้แม่นยำ ต่ำกว่า 0 องศาอีกด้วย แนะนำเป็นตู้แช่ผัก SGE ที่ประหยัดไฟสุด ราคาแค่ 12500 เท่านั้น ถือว่าถูกกว่าตู้เย็นบางรุ่นเสียอีก


เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับเคล็ดไม่ลับของวิธีเก็บผักในตู้เย็นให้อยู่ได้นาน ยังคงรสชาติและกลิ่นหอมเหมือนใหม่ เริ่มตั้งแต่สิ่งที่ควรทำก่อนเก็บผักสดเข้าตู้เย็น ไปจนถึงวิธีเก็บผักในตู้เย็นตามประเภทของผักสดแต่ละชนิดที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นวิธีเก็บผักชีในตู้เย็น วิธีเก็บใบกะเพราในตู้เย็น วิธีเก็บกระเทียมในตู้เย็น และวิธีเก็บพริกในตู้เย็น นอกเหนือจากนี้ ยังมีภาชนะที่ควรเลือกใช้เก็บผักสดในตู้เย็น เช่น กล่องเก็บผักในตู้เย็น หรือขวดโหลที่เก็บผักมีฝาปิดเพื่อป้องกันอากาศหรือความชื้นเข้าออกได้ ซึ่งจะช่วยให้เราถนอมผักและเก็บผักสดในตู้เย็นให้ยืดอายุได้นานขึ้น หวังว่าบทความนี้จะมีประโยชน์สำหรับผู้อ่านทุกท่านค่ะ