springgreenのブログ

タイ料理のレシピ รวมสูตรอาหารไทย

รู้จักกับ สแลนกันแดด มีข้อดีอย่างไร

สแลนคือตาข่ายกรองแสงที่เพื่อนๆ เกษตรกรเราคุ้นตากันดี มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Shading Net ครับ ก็คือใช้เพื่อเป็นร่มเงาให้พืชพันธุ์เราครับ ไม่ว่าแปลงเกษตรที่ในโลกก็ต้องมีใช้ทดแทนเงาจากร่มไม้ใหญ่ โดยการประดิษฐ์คิดค้นสแลนขึ้นมานั้น เขามีวัตถุประสงค์เพื่อเอาไว้ลดความเข้มข้นหรือความแรงของแสงแดดลง ลดความร้อนที่จะส่งผลกระทบต่อต้นไม้ ทำให้ดินสามารถรักษาความชุ่มชื้นไว้ได้ดีขึ้นต้นไม้ของเราจึงเติบโตได้เต็มที่


สแลนบังแดด คือผืนตาข่ายที่ผลิตด้วยพลาสติกโพลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง หรือที่เรียกว่า High Density Polyethylene เป็นพลาสติกที่มีความขุ่น ทำให้แสงมีโอกาสผ่านได้น้อย ทนต่อความร้อนสูงสุดได้ถึง 100 องศาเซลเซียสและยังทนต่อความเย็นได้สูง ซึมซับและรักษาความชื้นได้ดี ทนต่อสภาพความเป็นกรดและด่าง ทำให้ใช้งานได้นาน

สแลน มีกี่ประเภท?


แบ่งประเภทตามกรรมวิธีการผลิต ได้ 2 ประเภท คือ

  • สแลนแบบถัก

ชนิดนี้ทำจากโพลิเอทิลีนน้ำหนักเบา จึงเหมาะกับเกษตรกรรม การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ กสิกรรมทุกประเภท

  • สแลนแบบทอ
ตาข่ายชนิดนี้มีน้ำหนักมากกว่า ทิ้งตัวดี มีความยืดหยุ่นและทนทานสูง จึงนิยมใช้ในการเลี้ยงสัตว์และทำสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการความแน่นหนามั่นคง


ทำไมเกษตรกรและคนปลูกต้นไม้ควรใช้ สแลน?


สแลนช่วยเพิ่มผลผลิตแต่ลดอายุการเก็บเกี่ยวให้สั้นลง
พืชแต่ละชนิดนั้นต้องการปริมาณและความเข้มข้นของแสงในการเจริญเติบโตแตกต่างกัน บางชนิดต้องโดนแดดมากจึงจะออกดอกออกผล เช่น โกสน โป๊ยเซียน มะเขือ พริก เป็นต้น


ในขณะที่บางชนิดต้องการแสงแดดที่กำลังพอดี เช่น คะน้า กวางตุ้ง และบางชนิดต้องแดดรำไร ความเข้มข้นต่ำเท่านั้น จึงจะงอกงามดี เช่น ผักชี ต้นหอม ขิง ข่า กล้วยไม้ ฯลฯ


สแลน ช่วยลดต้นทุนการใช้น้ำและปุ๋ย
การปลูกพืชบางชนิด โดยเฉพาะพืชจากต่างประเทศที่นำมาเพาะในประเทศไทยที่เป็นเมืองร้อน ทำให้เกษตรกร ผู้เพาะปลูกต้องสิ้นเปลืองต้นทุนไปกับการให้น้ำและให้ปุ๋ยเพื่อบำรุงเร่งการเจริญเติบโต และการใช้ปุ๋ยมากเกินไปจะส่งผลเสียตามมา แม้ว่าปุ๋ยที่ใช้จะเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติหรือปุ๋ยคอก ก็ตาม ผลกระทบที่ตามมา คือ ทำให้ดินมีสภาพความเป็นกรดหรือด่างสูงมากเกินไป หรือทำให้พืชเสี่ยงต่อการเป็นโรค เพราะโรคระบาดบางชนิดก็มากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยมูลสัตว์


👍 หากเกษตรกรหันมาใช้สแลนและเลือกแบบที่เหมาะสมกับชนิดของพืชที่ปลูก จะทำให้เกษตรกรสามารถปรับและควบคุมสภาพแวดล้อมได้ด้วยเช่นกัน คือ

  • ควบคุมอุณหภูมิ ความร้อน
  • ควบคุมอากาศที่ถ่ายเท
  • ควบคุมความชื้น
  • ควบคุมปริมาณน้ำฝน
  • ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้พืชเติบโต ได้ผลผลิตงอกงามดี โดยไม่ต้องรดน้ำบ่อย ไม่ต้องใส่ปุ๋ยมาก จึงถือเป็นการช่วยเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต เพิ่มผลกำไรได้อีกทางด้วย

สแลนแต่ละสี แตกต่างกันอย่างไร?


สีของสแลนกันแดดนั้น มีให้เลือกทั้งสีดำ และ สีเขียว ทั้ง 2 สีนั้นมีความแตกต่างกันในเรื่องของสีกับแสงที่ให้ความรู้สึก คือ สีดำจะไปตัดทอนค่าความยาวของคลื่นแสง แสงที่ลอดผ่านสแลนสีดำนั้นจะเป็นแสงสีขาวแบบที่เราเห็นทั่วไป แต่สแลนสีอื่นจะสะท้อนค่าความยาวของคลื่นแสงที่เป็นสีเดียวกับสีของสแลนนั้นดังนั้น ความแตกต่างของสีสแลนนั้น ยังไม่มีความแตกต่างกันมากนัก แต่ขึ้นอยู่กับผู้เลือกใช้มากกว่า


ซึ่งพืชต้องการแสงสีน้ำเงินและสีแดงเป็นหลัก ซึ่งรวมอยู่ในแสงสีขาวอยู่แล้ว ถ้าแสงสีเหล่านี้ถูกตัดทอนออกไปจะมีผลต่อการสังเคราะห์แสงจนถึงการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้คนส่วนใหญ่เลือกใช้สแลนสีเขียวมากกว่าสแลนสีดำ เพราะสแลนสีดำเก็บความร้อนได้ดีกว่าสีเขียว แต่ส่งผลระยะยาวคือ สแลนสีดำจะผุพัง เสื่อมสภาพเร็วกว่าสแลนสีเขียวนั่นเอง


สำหรับเกษตรกรที่กำลังมองหาสแลนไว้ใช้สำหรับบังแสงให้แปลงเพาะปลูก อาจต้องคำนึงถึงเรื่องช่วงวัยของพืชตามไปด้วย เช่น ช่วงเพาะและอนุบาลต้นกล้า จำเป็นต้องลดแสงแดดสูง จึงควรใช้สแลน 80% เพราะต้นไม้จะได้เติบโตได้ดี เมื่อต้นกล้าแข็งแรงดีแล้ว เราควรเปลี่ยนมาใช้สแลน 50% เพื่อเพิ่มปริมาณแสงแดดมากขึ้น เว้นแต่การเลี้ยงพืชที่ต้องการแสงรำไรในทุกช่วงวัย เช่น กล้วยไม้ เราควรใช้สแลน 80% ตลอดช่วงอายุ