springgreenのブログ

タイ料理のレシピ รวมสูตรอาหารไทย

รู้จักกะท้อนปุยฝ้ายกวน ที่กำลังฮิต ขายดีมากๆ

กะท้อนปุยฝ้าย กินที่ไหนก็ได้ เพราะจุดเด่นของพันธุ์ คือ เนื้อนุ่มฟู ให้รสหวานอมเปรี้ยวแบบลงตัว แต่ถ้าจะให้ยกเป็นกะท้อนปุยฝ้าย ที่ขึ้นชื่อว่าอร่อยที่สุดในประเทศไทย ที่การันตีด้วยรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ ต้องยกให้ กะท้อนปุยฝ้ายคลองน้อย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ปากแม่น้ำ ทำให้สภาพดินของพื้นที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ส่งผลให้กระท้อนปุยฝ้ายของที่นี่มีรสชาติหวานกล่อมที่แตกต่างไปจากพื้นที่อื่น และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็น กะท้อน GI คลองน้อย


นายชาญวิทย์ มีวงศ์ อายุ 54 ปี เกษตรกร เจ้าของสวนกะท้อนสมหวัง ต.คลองน้อย อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นอีก 1 เกษตรกรที่ต้องประสบกับปัญหาตลาดขายกะท้อนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กล่าวว่า จากเดิมที่กะท้อนในสวนของเกษตรกรถูกจองล่วงหน้าทั้งจากผู้บริโภค และแม่ค้าคนกลาง แต่ปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ไม่มีตลาดระบายสินค้า เมื่อหันมาขายบนออนไลน์ ก็ประสบกับปัญหาการขนส่งที่ล่าช้าจนทำให้สินค้าเสียหาย เมื่อเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ทำให้ตนไม่สบายใจ เพราะนั่นคือ ลูกค้าจะไม่ได้สินค้าที่มีคุณภาพ จึงได้ตัดสินใจนำผลกะท้อนสดมาแปรรูป ทั้งในส่วนของไอศกรีมกะท้อน ที่ผลิตไปก่อนหน้านี้ และได้รับความสนใจเป็นอย่างดี จนล่าสุด ได้คิดค้นการกวนกะท้อน ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณในการถนอมอาหาร ซึ่งปรากฏว่าได้รับความสนใจเช่นกัน เนื่องจากกะท้อนกวนมีรสชาติที่แตกต่างไปจากผลไม้รสหวานอื่น ๆ

“วิธีการก็ไม่ได้ยุ่งยาก เพียงแต่คัดกะท้อนที่สุกจัด รวมถึงกะท้อนที่ตกไซซ์ นำมาผ่าเอาเฉพาะเนื้อปุยของกะท้อน และเมล็ด จากนั้นจึงนำไปปั่นให้ละเอียด แล้วจึงนำไปกวน ซึ่งขั้นตอนการกวนอาจต้องไว้เวลาอย่างน้อย 6 ชั่วโมง จึงจะได้กะท้อนกวนที่เหนียวนุ่ม โดยกะท้อนสด 60 กก. จะได้เนื้อกะท้อน 20 กก. เมื่อกวนแล้วจะเหลือกะท้อน 13 กก. จำหน่ายได้ กก.ละ 300 บาท “


สำหรับกะท้อนกวน หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่แปรรูปมาจากะท้อนของเกษตรกรคลองน้อยนั้น เราได้มีการรวมกลุ่มเกษตรกร จัดตั้งเป็น วิสาหกิจท่องเที่ยวตำบลคลองน้อย ซึ่งงสมาชิกจะนำผลผลิตของตนเองมาแปรรูป โดยมีสมาชิกหมุนเวียนช่วยกัน จากนั่นก็นำผลผลิตของตนไปจำหน่ายด้วยตนเอง หรือนำมาฝากกลุ่มจำหน่าย ซึ่งช่องทางการจำหน่ายนั่น นอกจากจะวางขายตามร้านขายของฝาก และร้านค้าทั่วไปแล้ว 


ปัจจุบันได้มีการวางจำหน่ายทางออนไลน์ ผ่านทาง
https://www.facebook.com/baantiachomtawan 


และ ผ่านทางตลาดเงินอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งการแปรรูปกะท้อน ทำให้เกษตรกร สามารถยืดระยะเวลาการจำหน่ายผลผลิตออกไปได้ระยะหนึ่ง และในอนาคตเชื่อว่า หากเราต้องอยู่ในสังคมเว้นระยะอย่างนี้ต่อไป ก็จะเป็นทางออกอีกทางหนึ่ง หรือสามารถใช้คู่กับเครื่องซีลสูญญากาศ ก็จะช่วยเพิ่มระยะเวลาการถนอมอาหารไปได้อีกนาน


ขอขอบคุณที่มา : dailynews.co.th/news/316781/