springgreenのブログ

タイ料理のレシピ รวมสูตรอาหารไทย

วิธีการปลูกผักชีทำได้ง่ายๆ


เชื่อว่าคนที่ชอบกินผักชีต้องมีสะดุ้งกันบ้างเล็กน้อย ผักสดหลายชนิดในท้องตลาด มีสารเคมีตกค้างอยู่สูง ดังนั้น ถ้าหากใครคิดจะกินผักใบเขียว เพื่อช่วยเสริมให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง คงต้องมีร้อน ๆ หนาว ๆ กับอันตรายที่ติดมาจากสารเคมีกันบ้างแหละ 😲


ปกติการเลือกซื้อผัก เพื่อนำมาปรุง และรับประทานเอง เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับสุขภาพ เพราะเราสามารถกำหนดสัดส่วนเครื่องปรุงให้ไม่ มัน เค็ม หรือหวานมากเกินไปได้ บทความนี้เราเลยอยากมาชวน “ปลูกผักชีกินเอง” ปลูกผัก เพื่อสุขภาพที่ปลอดภัยต่อสารเคมี แถมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้อวัตถุดิบอีกด้วยนะ


วิธีการปลูกผักชี

1. การเลือกเมล็ดพันธุ์ผักชี เมล็ดพันธุ์ผักชีที่นิยมปลูกกันเนื่องจากปลูกง่าย หาซื้อง่ายตามท้องตลาดทั่วไปและเจริญงอกงามดี ได้แก่พันธุ์ เมล็ดผักชีพันธุ์สิงคโปร์และเมล็ดผักชีไต้หวัน


2. การเตรียมดินเพื่อปลูกผักชี การปลูกผักชีสามารถปลูกได้ทั้งในกระถางและปลูกในแปลงดิน การปลูกในกระถางเหมาะสำหรับท่านที่ต้องการปลูกรับประทานเอง และการปลูกในแปลงดินเป็นการปลูกเพื่อจำหน่าย สำหรับท่านที่ต้องการปลูกในแปลงดินควรขุดดินหรือพรวนดินขึ้นมาตากแดดไว้ก่อนสัก5-7วัน แล้วทำการพรวนดินซ้ำอีกทีนึงเพื่อให้ดินมีความร่วนและทำการผสมปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยสดคลุกเคล้ากับแปลงดิน


3. เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ผักชีมาแล้ว ให้ทำการบดเมล็ดผักชีให้แตกออกเป็น2ส่วนก่อน(สำคัญมาก) แล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1-3 วัน (แนะนำ การแช่น้ำควรนำผ้ามาห่อไว้ แล้วหาอะไรกดทับให้มิดจมน้ำไปเลย) การบดเมล็ดผักชีจะทำให้ผักชีเจริญเติบโตง่ายและเร็วขึ้น ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ผักชีที่จะนำมาปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์ผักชีที่ใหม่เพราะเมล็ดพันธุ์ผักชีเก่าที่เป็นราปลูกยังไงก็ไม่ขึ้น


4. เมื่อแช่เมล็ดพันธุ์ผักชีแล้ว นำไปผึ่งลม เมื่อเมล็ดพันธุ์ผักชีเริ่มงอกก็นำไปหว่าน


5. ก่อนการนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่านควรรถน้ำให้ซุ่มแปลงดิน แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ผักไปหว่าน และคลุมด้วยฟางข้าวบางๆ เพื่อป้องกันต้นอ่อนจากแสงแดดและรักษาความซุ่มซื้นของแปลงดิน


6. การรดน้ำและการกำจัดวัชพืช ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ2ครั้ง แต่อย่ารถน้ำมากเกินไป เพราะผักชีไม่ชอบน้ำที่ขัง จะทำให้ผักชีเน่าง่าย ส่วนการกำจัดวัชพืชควรกำจัดอย่างทันที โดยใช้มือถอนได้เลย เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งน้ำจากผักชีทำให้ผักไปไม่เจริบเติบโต


7. การใส่ปุ๋ยให้ผักชีหลังจากแตกใบแล้วแนะนำให้ใส่ปุ๋ยหมัก


การใส่ปุ๋ย ผักชี

ให้ใช้น้ำแช่ปุ๋ยคอก เช่น มูลโค กระบือ ไก่ หมู โดยทำการแช่น้ำใส่ถังทิ้งไว้ ประมาณ 1 สัปดาห์ และนำเอาส่วนที่เป็นน้ำรดในแปลงผักชี ประมาณ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยเป็นการร่วมกับการให้น้ำทั่วไป ทั้งนี้ ให้เริ่มการให้ปุ๋ยน้ำประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากการงอก นอกจากนั้น ให้นำเศษมูลสัตว์ ที่เป็นตะกอนหลังการแช่น้ำ โปรยหว่านในแปลงเป็นระยะ ประมาณ 2 ครั้งต่อเดือน


สรรพคุณและประโยชน์ของผักชี
ผักชีไทย ไม่ใช่แค่มีดีเพียงโรยหน้า แต่มีประโยชน์มากมายเพราะในผักชี อุดมไปด้วยวิตามินซี, วิตามินเค และโปรตีน ยังมีส่วนช่วยในการดูแลสุภาพอีกด้วย


  1. ผักชีไทย สามารถลดระดับของคอเลสเตอรอล ประเภทที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และเสริมสร้างการผลิตคอเลสเตอรอลที่ดีต่อร่างกายให้เหมาะสมกับความต้องการ ช่วยเสริมระบบการย่อยอาหาร และมีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยต่อต้านมะเร็งได้อีกด้วย
  2. รากผักชี เป็นเครื่องเทศที่นิยมนำมาหมักเนื้อสัตว์ เพื่อดับกลิ่นคาว และเพิ่มความหอม โดยเฉพาะอาหารที่ปิ้งย่าง รากผักชี ยังมีประโยชน์ช่วยไล่พิษไข้เหือด หิด อีสุกอีใส
  3. ลำต้น และใบ มีสารอาหารอย่างโพแทสเซียม, แคลเซียม และไฟเบอร์ มีสรรพคุณที่ช่วยป้องกันหวัด, ช่วยขับเหงื่อ, บรรเทาอาการแก้ไอ, สลายเสมหะ ขับลมแก้ท้องอืด, ช่วยย่อยอาหาร, บรรเทาอาการคัน โดยให้นำผักชี มาตำแล้วนำไปโปะบริเวณที่คันได้
  4. เมล็ดผักชี หรือลูกผักชี โดยลูกผักชี มีสารต้านอนุมูลอิสระ, ช่วยบรรเทาอาการอักเสบ, ปรับระดับน้ำตาลในเลือด, ช่วยสลายไขมัน และช่วยขับลมแก้ท้องอืด ใช้อุดแก้ปวดฟันได้ หรือหากใครที่มีอาการแฮงค์เอาท์จากการเมาเหล้า เพียงแค่เคี้ยวลูกผักชีก็ช่วยแก้ได้

ข้อแนะนำ และข้อควรระวังของผักชี


  • สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต ควรทานแค่พอเหมะ เพราะผักชีไทย มีโพแทสเซียมสูง จะเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้
  • ผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ ควรระวังการแพ้พืชวงศ์ผักชี หรือใครที่แพ้ ขึ้นฉ่าย, ยี่หร่า, กระเทียม, หอมใหญ่ จำเป็นต้องระวังอย่างสูง เพราะอาจเกิดการแพ้ได้อาการแพ้ที่พบได้ คือ ผื่นคัน ตาอักเสบ แสบเยื่อบุจมูก
  • ในคนที่ปัญหาเกี่ยวกับช่องปาก เช่น มีกลิ่นปาก ฟันผุ หรือเป็นคนที่มีกลิ่นตัวแรง กลิ่นรักแร้แรง หรือเป็นฝี ไม่ควรกินผักชี เพราะจะทำให้กลิ่นต่าง ๆ หรือมีอาการรุนแรงขึ้น

วิธีปลูกผักชีนอกฤดู


แต่เนื่องจากผักชีเป็นพืชอวบน้ำ จึงบอบช้ำได้ง่ายโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนที่มีเม็ดฝนตกโดนต้นทำให้ต้นช้ำและยิ่งถ้าเป็นฝนที่ตกช่วงสาย ๆ หรือตกตอนกลางวัน หลังจากฝนตกแล้วแดดออกทำให้ต้นเน่า ผักชีจึงเสียหายได้มากและราคาแพงในหน้าฝนนี่เอง


วิธีการปลูกผักชีในหน้าฝน


วิธีปลูกผักชีนอกฤดูนั้นอย่างแรกเลยเราต้องเตรียมดินและแปลงปลูกให้เรียบร้อยก่อน โดยแปลงปลูกควรที่จะทำเป็นหลังเต่าเพื่อที่น้ำจะได้ไม่ขัง ดินที่ปลูกก็ควรที่จะเป็นดินร่วน หรือดินร่วนปนทราย โดยนิสัยความชอบของผักชีนั้นไม่ชอบน้ำขัง ชอบที่ชื้นแต่ไม่แชะ ควรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ผสมปูนขาว เอาฟางคลุมใส่หัวเชื้อพด. 3หรือไตโครเดอร์มา หมักทิ้งไว้ระยะหนึ่งก่อนที่จะหว่านเมล็ดลงแปลงปลูก


แนะนำให้ใช้ สแลนกันแดด สแลนสีเขียว ตาข่ายกรองแสง SGE ที่ราคาเริ่มต้นเพียง 645/ม้วน สแลนกันแดดจาก SGETHAI มีความเหนียวเป็นพิเศษ ทำให้ฉีกขาดยากมาก ช่วยให้ผักชีไม่โดนแดดมากจนเกินไป


หลังจากเตรียมดินและสถานที่ปลูกเป็นที่เรียบร้อยแล้วเราควรที่จะตั้งเสา 4 เสา รอบแปลงปลูกและกางสแลมมันกับเสาทุกต้นถ้าอยากจะให้มั่นคงหน่อยก็ควรที่จะปักเสากลางด้วยกันลมพัด โดยสแลมสามารถที่จะเปิดปิดได้ เมื่อแดดออกจะรูดเปิดออกมาให้พืชได้รับแสง แต่เมื่อแดดร้อนจัดหรือฝนตก รวมถึงเวลากลางคืนก็ปิดสแลมไว้กันฝนตกและแมลงที่เข้ามารบกวน สแลมนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกของฝนและพรางแสงแดดที่แรงเกินไปได้


ในช่วงหน้าฝนตกติดต่อกันมาก ๆหลายวัน อาจจะใช้เชื้อราไตโครเดอร์มาหรือเชื้อราคีโตเมียมฉีดพ่นเพื่อลดอาการเน่าหรือใช้น้ำปูนขาวที่มีฤทธิ์เป็นด่างปรับสภาพดินเพราะว่าเชื้อราชชอบความเป็นกรด เมื่อมีน้ำปูนขาวซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่าง ทำให้เชื้อราก็หยุดการเจริญเติบโตเหมือนกัน แต่ถ้าเราพบว่าผักชีต้นไหนเป็นเชื้อราเราควรที่จะรีบถอนทิ้งออกจากแปลงปลูกในทันที แต่ถ้าผักชีขึ้นแน่หนาเกินไปเราก็ควรที่จะถอนทิ้งเหมือนกันเพื่อไม่ให้เกิดความอับชื้นซึ่งเป็นสาเหตุของต้นเน่าและอาจจะลุกลามไปทั่วแปลงถ้าเราไม่มีการดูแลที่ดี