springgreenのブログ

タイ料理のレシピ รวมสูตรอาหารไทย

รู้จักกับหญ้าเนเปียร์ กันให้มากกว่านี้

ประวัติ หญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum) มีถิ่นกำเนิดในแถบประเทศของแอฟริกา ปัจจุบันพบปลูกแพร่กระจายทั่วโลกในแถบประเทศอบอุ่น ส่วนประเทศไทยได้นำหญ้าเนเปียร์จากประเทศมาเลเซียเข้ามาปลูกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2472 โดย นายอาร์ พี โจนส์ และในช่วงปี พ.ศ. 2504-2507 ประเทศไทยได้นำเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศมาปลูกอย่างต่อเนื่อง อาทิ กรมปศุสัตว์ นำเข้าพันธุ์ลูกผสมจากประเทศอินเดียเข้ามาปลูก


ลักษณะภายนอกหญ้าเนเปียร์
-หญ้าเนเปียร์มีลำต้นตรง
-มีใบสลับข้างกัน
-มีส่วนกาบหุ้มลำต้นไว้
-ใบและลำต้นอ่อนนุ่ม
-โตเต็มที่จะมีความสูง 5 เมตร
-รากเป็นรากแบบฝอยแข็งแรง แผ่กระจายออกนอกลำต้นในรัศมี 50-100 เซนติเมตร ลึก 30-50
เซนติเมตร
-ลำต้นสามารถแตกหน่อได้ จากตาของข้อล่างที่อยู่ชิดกับดิน


ลักษณะเด่นของหญ้าเนเปียร์
-เจริญเติบโตเร็ว แตกกอดี ออกดอกช้า ใบมีขนน้อย
-ทนแล้ง ปรับตัวได้ในดินหลายสภาพ
-ไม่มีระยะพักตัว
-ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
-ตอบสนองต่อการให้น้ำและปุ๋ยดี
-เติบโตได้ทั่วทุกภาค/ทุกฤดู
-ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ให้ผลผลิตทั้งปี ให้ผลผลิตระยะยาว สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 6 ปี
-มีปริมาณน้ำตาลในใบและลำต้นสูง
-ไม่มีโรคและแมลงรบกวน
-มีคุณค่าทางอาหารสูง



ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก และลำต้น
หญ้าเนเปียร์ เป็นหญ้าที่มีลำต้นขนาดใหญ่ ลำต้นแตกเป็นกอหรือแตกต้นใหม่ได้ ลำต้นมีลักษณะแข็งแรง มีลำต้นสั้นๆบางส่วนอยู่ใต้ดิน ลำต้นเหนือดินมีลักษณะทรงกลม และตั้งตรง ขนาดลำต้น 2-2.5 เซนติเมตร สูง 2-6 เมตร ลำต้นมีลักษณะเป็นข้อปล้อง ประมาณ 15-20 ข้อ ส่วนรากมีเฉพาะระบบรากฝอยที่แตกออกจากเหง้าจำนวนมาก

  • ใบ

ใบหญ้าเนเปียร์ออกเป็นใบเดี่ยว ประกอบด้วยกาบใบที่ห่อหุ้มลำต้น และมีขนเล็กๆ นุ่มมือปกคลุม โดยตรงรอยต่อระหว่างกาบใบกับแผ่นใบมีลิ้นใบ ถัดมาเป็นแผ่นใบยาว แผ่นใบมีสีเขียวอ่อน ยาวประมาณ 70-100 เซนติเมตร กว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร แผ่นใบมีเส้นกลางใบขนาดใหญ่

  • ดอก

ดอกหญ้าเนเปียร์ออกเป็นช่อ แบบ spike ช่อดอกมีรูปทรงกระบอก สีเหลือง ยาวประมาณ 15-22 เซนติเมตร หนาประมาณ 2-3 เซนติเมตร ประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก ด้านในดอกมีเกสรตัวเมีย และตัวผู้

  • ผล และเมล็ด

หญ้าเนเปียร์พบติดผลได้น้อยมาก เปลือกผล และเมล็ดหุ้มติดกัน



1. หญ้าเนเปียร์ยักษ์
ชื่อสามัญ : King grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ : P. purpureum King grass
ต้นประเทศที่นำเข้า : ประเทศอินโดนีเซีย
ปีที่นำเข้า : มกราคม 2533
ผู้นำเข้า : นายชาญชัย มณีดุล
ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูง แตกกอง่าย ใบและลำต้นมีขน ให้ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน/ไร่/ปี หรือมากกว่า (ตัดหลายรุ่นต่อปี) ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ


2. หญ้าเนเปียร์แคระ
ชื่อสามัญ : Mott Dwarf Elephant Grass
ชื่อวิทยาศาสตร์: P. purpureum cv. Mott
ต้นประเทศที่นำเข้า : มหาวิทยาลัยแห่งรัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ปีที่นำเข้า : พฤศจิกายน 2532
ผู้นำเข้า : นายวิฑูรย์ กำเนิดเพชร
ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นเตี้ย แตกกอง่าย เป็นพุ่ม ใบ และลำต้นมีขน


3. หญ้าเนเปียร์ปากช่อง1 (พันธุ์ลูกผสม)
ชื่อสามัญ : Pak Chong 1
ชื่อวิทยาศาสตร์: P. purpureum x pennisetum americanum
พันธุ์ดั้งเดิม : หญ้าเนเปียร์ยักษ์ และหญ้าไข่มุก
หน่วยงานพัฒนาสายพันธุ์ : ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ โคราช กรมปศุสัตว์
ลักษณะเด่นชัด : ลำต้นสูงใหญ่ เหมือนเนเปียร์ยักษ์ ลำต้นอวบ และออกเขียวอ่อน ใบ และลำต้นไม่มีขน ลดการคันขณะเก็บเกี่ยว ให้ผลผลิตเหมือนกับหญ้าเนปียร์ยัก ผลผลิตต่อไร่สูง 10-60 ตัน/ไร่/ปี หรือมากกว่า (ตัดหลายรุ่นต่อปี) ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และน้ำ


ประโยชน์หญ้าเนเปียร์
1. ใช้ปลูกเพื่อเป็นอาหารสัตว์ โดยเฉพาะโคเนื้อ โคนม และกระบือ ซึ่งเหมาะสมสำหรับการให้กินสด และการทำหญ้าหมัก
2. ใช้เป็นชีวะมวลสำหรับเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
3. ใช้ปลูกเป็นพืชคลุมดิน
4. ลำต้นใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษ
5. ลำต้นนำมาสับ และอัดเป็นแท่งสำหรับเป็นเชื้อเพลิงหุงหาอาหาร
6. หญ้าเนเปียร์มีโปรตีนสูง และให้ผลผลิตต่อไร่สูงกว่าหญ้าทุกสายพันธุ์ เหมาะสำหรับใช้เป็นอาหารสำหรับวัวขุน โคขุนและวัวชนทุกระยะ


คุณค่าทางโภชนาการหญ้าเนเปียร์ (อายุ 45 วัน : 100 กรัม)
– พลังงาน : 175.40 แคลอรี่
– โปรตีน : 7.32 กรัม
– ไขมัน : 0.99 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต : 34.32 กรัม
– ความชื้น : 8.68 กรัม
– เถ้า : 11.51 กรัม
– กาก : 37.21 กรัม
– แคลเซียม : 247.5 มิลลิกรัม
– ฟอสฟอรัส : 203.9 มิลลิกรัม
– เหล็ก : 12.4 มิลลิกรัม


ปริมาณโปรตีนที่พบ นั่นหมายถึงว่า มีโปรตีนสูงถึง 7.32%


สแลนกันแดด อันดับ 1 ของไทย ตาข่ายกรองแสง ทอหนาพิเศษเย็บขอบข้าง กันลุ่ย ทอแน่น สินค้าเกรด A จากโรงงาน หลังคาโรงเรือน หลังคาโรงจอดรถ ราคาพิเศษวันนี้เพียง 645 บาท / ม้วน